วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบขับถ่าย


ระบบขับถ่าย

     กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในร่างกาย นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือให้ผลที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังมีสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการ ซึ่งรวมเรียกว่าของเสีย เกิดขึ้นตามมาอีกด้วย ของเสียที่ร่างกายกำจัดออกมานั้นมีทั้งสารที่เป็นพิษตอร่างกาย และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่มีปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายจึงขับออกสู่ภายนอก ของเสียเหล่านี้มีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
    ของเสียที่เป็นของแข็งร่างกายจะกำจัดออกทางทวารหนักในรูปของอุจจาระ ส่วนของเสียที่เป็นแก๊สร่างกายจะกำจัดออมากับลมหายใจออก สำหรับของเสียที่เป็นของเหลวร่างกายมีกลไกในการกำจัดอยู่ 2 ทาง คือ การกำจัดของเสียทางไต และ การกำจัดของเสียทางผิวหนัง

การกำจัดของเสียทางไต
     ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆภายในเซลล์จะถูกกำจัดออกจากเซลล์ โดยการแพร่เข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นเลือดจะลำเลียงของเสียต่างๆยังไต เพื่อผ่านกระบวนการกำจัดของเสียออกจากเลือด
    ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ค้ายเครื่องกรอง โดยจะกรองของเสียออกจากเลือด มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วดำและจะมีอยู่ 2 ข้าง โดยติดอยู่ทางด้านหลังของช่องท้อง ขนาดโดยประมาณของไต คือ กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร เมื่อผ่าไตออกเป็น 2 ซีกพบว่าภายในไตประกอบด้วยหน่วยไต เล็กๆจำนวนมาก มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่ และมีหลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกกระจายอยู่เต็มไปหมด บริเวณตรงกลางไตที่เว้าบุ๋มลึกลงไป เรียกว่ากรวยไต และมีหลอดไตต่อเชื่อม ซึ่งหลอดไตนี้จะมีลักษณะเป็นท่อยาวจากกรวยไตไปจนถึงกระเพาะปัสสาวะ





การทำงานของไต
     ลอดเลือดที่นำเลือดมายังไตเป็นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ ซึ่งจะลำเลียงทั้งสารที่มีประโยชน์และของเสียที่ต้องการกำจัดออก สารต่างๆที่เลือดลำเลียงมาจะถูกส่งเข้าสู่หน่วยไตโดยผ่านไปตามหลอดเลือดฝอย เพื่อให้หน่วยไตทำหน้าที่กรองสารที่อยู่ในเลือดก่อน ข้อมูลจากการทดลองพบว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงและสารจำพวกโปรตีนบางชนิด เช่น เฮโมโกลบิน ไม่สามารถผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้ สำหรับสารบางจำพวก เช่น น้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโน และของเสียอื่นๆ จะผ่านเข้าสู่หน่วยไตได้และจะไหลเข้าไปตามท่อของหน่วยไต
    แร่ธาตุและสารบางชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่นั้น เมื่อผ่านไปตามท่อของหน่วยไตจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับคืนเข้าสู่หลอดเลือดฝอยใหม่ ส่วนของเสียอื่นๆนั้น ซึ่งจะรวมเรียกว่า น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งผ่านไปตามหลอดไตและเข้าสู่กระเพาะปัสสาะต่อไป จากนั้นจึงถูกขับออกจากร่างกายในรูปของของเหลว คือ น้ำปัสสาวะนั่นเอง
    โดยปกติน้ำตาลกลูโคสเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอยหมด แต่ถ้ากรณีที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดมากเกินไปหน่วยไตจะไม่ดูดซึมน้ำตาลกลูโคสกลับจนหมด และ จะปล่อยออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าในน้ำปัสสวะมีอนุภาคของน้ำตาลกลูโคสมากผิดปกติ แสดงว่าบุคคลผู้นั้นกำลังมีอาการของโรคเบาหวาน
    กระเพาะปัสสาวะปกติมีความจุได้ประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกอยากปัสสาวะ




การกำจัดของเสียทางผิวหนัง
     ของเสียที่มีสถานะของเหลวนอกจากจะถูกขับออกจากร่างกายในรูปน้ำปัสสาวะที่ผ่านทาไตแล้วยังมีของเสียในสถานะของเหลวอีกส่วนหนึ่งถูกขับออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ ซึ่งผ่านทางผิวหนัง ผิวหนังนอกจากจะทำหน้าที่กำจัดของเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อแล้ว ยังมีส่วนระบายความร้อนให้แก่ร่างกายเพื่อขับเหงื่อออกสู่ภายนอก โดยปกติความร้อนที่เสียไปทางผิวหนังจะมีปริมาณ 87.4 %
    เหงื่อที่ร่างกายขับออกมานั้นประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ และจะมีเกลือบางชนิดถูกขับปนออกมาด้วย จึงทำให้เหงื่อมีรสเค็ม สำหรับเงื่อได้ถูกสร้างขึ้นที่บริเวณของต่อมเหงื่อซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังทั่วร่างกาย
      โครงสร้างภายในของต่อมเหงื่อจะมีลักษณะเป็นท่อขดอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบ โดยหลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะลำเลียงเอาของเสียที่ต้องการกำจัดออกจากร่างกายทางผิวหนังมายังบริเวณต่อมเหงื่อ
    ของเสียที่ถูกลำเลียงมากับเลือด เมื่อมาถึงบริเวณต่อมเหงื่อแล้วของเสียจะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ท่อในต่อเหงื่อ จากนั้นของเสียจะถูกลำเลียงไปตามท่อ โดยจะเปิดอยู่บริเวณผิวหนังด้านบน





 การกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่
     หลังจากการย่อยอาหารเสร็จสิ้นลง อาหารส่วนที่เหลือและส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้จะถูกกำจัดออกจากร่างกายทางลำไส้ใหญ่ (ทวารหนัก ) ในรูปที่รวมเรียกว่า อุจจาระ
    อาหารท้องผูก จะเกิดจากการที่มีอุจจาระตกค้างอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่นานเกินไป ผนังของลำไส้ใหญ่ดูดซึมเอาน้ำที่ปะปนอยู่ในอุจจาระออกทำให้เกิดความยากลำบากในการขับถ่าย  ผู้ที่มีอาการท้องผูกจะรู้สึกแน่นท้อง อึดอัด บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหลังด้วย อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไป เมื่อถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย ผู้ที่มีอาการท้องผู้กนานๆอาจเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวารได้  สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกมีอยู่หลายประการ เช่น รับประานอาหารที่มีกากน้อยเกินไป และ อาหารรสจัดเป็นประจำ ขับถ่ายไม่เป็นเวลา เกิดอาการเครียดอยู่บ่อยๆ สูบบุหรี่จัด หรือดื่มน้ำชา กาแฟมากเกินไป

การกำจัดของเสียทางปอด
     มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์แม้จะไม่ได้รับอาหารเลยและจะอยู่ได้หลายวันในสภาวะขาดน้ำ แต่เมื่อใดที่ขาดอากาศ จะตายในเวลาไม่กี่นาที ออกซิเจนเป็นแก๊สที่พบทั่วไปในบรรยากาศและจำเป็นต่อเมตาบอลิซึมของเซลล ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน การหายใจนำแก๊สออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากขบวนการเมตาบอลิซึมออกไปพร้อมกับไอน้ำ
    การแลกเปลี่ยนแก๊สนี้เกิดขึ้นที่ถุงลมขนาดเล็กจำนวนมากมายที่อยู่เกือบเต็มปอด ออกซิเจนที่เข้ามาในถุงลมจะเข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่อยู่รอบๆแล้วถูกนำไปในกระแสเลือด ส่งไปให็เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย ในทำนองเดียวกัน คาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์ก็จะถูกส่งจากหลอดเลือดฝอยไปยังถุงลมและปล่อยออกไปจากปอด
     ของเสียที่ถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปอด ได้แก่ น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆในร่างกาย




แห่ล่งที่มา : 

http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/sec04p06.html







15 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาครบถ้วนเลย++

    ตอบลบ
  2. ตัวหนังสือน่าอ่าน พื้นหลังตกแต่งสวยงาม

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาสาระน่าสนใจมากเลยจร้า

    ตอบลบ
  4. ภาพสวยเนื้อหาดีมากเรย

    ตอบลบ
  5. สีสบายตา ตัวหนังสือ แต่ก็อ่านได้คร่า

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาดีมีสาระ ภาพประกอบก็สวย

    ตอบลบ
  7. มีการจัดลำดับเนื้อหาดีเยี่ยมค่ะ

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาดีค่ะ สวยด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  9. สวยค่ะ ภาพรวมเนื้อหาค่อนข้างดี

    ตอบลบ
  10. รูปแบบสวยดีนะเนื้อหาก็ดี

    ตอบลบ
  11. รูปน่าอ่นมาก อ่านง่าย เข้ามากด้วย

    ตอบลบ
  12. เนื้อหาอ่านง่าย เข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  13. เนื้อหาน่าสนใจมีประโยชน์ดีค่ะ

    ตอบลบ