วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ
   ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
   การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยมี 2 ลักษณะคือ
   1. การย่อยเชิงกล เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอ็นไซม์มาช่วย เป็นการบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง ได้แก่การบดเคี้ยวอาหารในปาก
   2. การย่อยทางเคมี เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอ็นไซม์*(หรือน้ำย่อย)มาช่วย ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลง เช่นการเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล
   การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก ลิ้น ฟัน ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
   ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่


การย่อยอาหารที่ปาก ( mouth)
ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากจะมีส่วนประกอบดังนี้
   anigreen02_rotate_next.gifฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
  anigreen02_rotate_next.gif ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย ไทอะลิน(Ptyalin) ออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล
  anigreen02_rotate_next.gifลิ้นจะช่วยกวาด,คลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารที่เคี้ยวลงสู่หลอดอาหาร
หลอดอาหาร ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดของผนังกล้ามเนื้อ
      การย่อยอาหารในปากจะเริ่มเมื่ออาหารเข้าสู่ปาก โดยฟันจะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของอาหารให้มีดอกาสสัมผัสกับเอนไซม์ชนิดที่อยู่ในน้ำลายได้มากขึ้น ทำให้การย่อยอาหารเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
      น้ำลายที่ถูกขับออกจากต่อมน้ำลาย ( เอนไซม์ในน้ำลายจะย่อยอาหารจำพวกแป้งหรือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำำตาลเท่านั้น ) ในขณะที่เคี้ยวอาหารจะช่วยคลุกเคล้ากับอาหารทำให้มีความลื่นต่อการเคี้ยวได้ง่าย และยังช่วยในการย่อยอาหารได้อีกด้วย โดยในน้ำลายจะมีเอนไซม์ที่ชื่ออะไมเลส ซึ่งสามารถย่อยแป้งที่มีอนุภาคใหญ่ให้กลายเป็นน้ำตาลที่มีอนุภาคเล็กอีก ด้วยสาเหตุนี้ขณะเราเคี้ยวและอมอาหารสุกที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เช่น ข้าว ขนมปังจืด ไว้สัก 2 - 3 นาที จะรู้สึกว่ามีรสหวานเกิดขึ้น
*เอ็นไซม์(enzyme) เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวเร่ง (catalyst)ในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น 




การย่อยอาหารที่กระเพาะอาหาร ( stomach )
     การะเพาะอาหาร ( stomach ) มีลักษณะเป็นถุงที่มีชั้นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ส่วนชั้นในสุดเป็นชั้นของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่มีต่อมมากมายทำหน้าที่สร้างของเหลว ( gastric juice ) ออกมา 3 ชนิด คือ เอนไซม์เปปซิน ( pepsin ) กรดไฮโดรคลอริกและน้ำ
    อาหารเมื่อย่อยในปากแล้วจะถูกส่งไปยังกระเพาะอาหาร โดยผ่านไปตามหลอดอาหาร ปกติกระเพาะอาหารขณะที่ไม่มีอาหารอยู่จะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารบรรจุ กระเพาะอาหารก็จะสามารถขยายเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 10 - 40 เท่า
    ผนังชั้นในสุดของกระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ชื่อว่าเปปซิน ( pepsin ) และ กรดไฮโดรคลอริก ออกมาในปริมาณเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริกก็จะถูกผลิตและขับออกมาในปริมาณมากขึ้น เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เรนนิน สำหรับย่อยโปรตีนในน้ำนม
    เอนไซม์เปปซินในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ย่อยสารอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะแพร่เข้าสู่เซลล์ได้ ดังนั้นจะต้องส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก
     กรดไฮโดรคลอริกที่กระเพาะอาหารสร้างขึ้นแลปล่อยออกมาในตอนแรกจะมีความเข้มข้นสูง สามารถทำอันตรายแก่เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายได้ แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารถ้ากรดนี้รวมตัวกับอาหารในกระเพาะทำให้กรดเจือจางลง ประกอบกับเนื้อเยื่อบุกระเพาะอาหารด้านในมีการสรางน้ำเมือกเคลือบไว้ กรดไฮโดรคลอริกจึงไม่ทำอันตรายแก่ผนังกระเพาะอาหารได้ง่ายนัก แต่ถ้ากระเพาะอาหารปล่อยน้ำย่อยออกมามากๆ ในขณะที่ไม่มีอาหารอยู่จะมีผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลายได้ และเมื่อเกิดบ่อยๆครั้งจะเป็นผลทำให้เกิดแผลและีเลือดไหลซึมออกมาจากเยื่อบุในกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากอุจจาระมีสีดำเนื่องจากมีเลือดไหลปนออกมาด้วย



การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ( small intestine )
      การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ ลำไส้เล็กมีรูปร่างเป็นท่อยาวประมาณ 15 ฟุต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ผนังด้านในของลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนมากเรียกว่า วิลไล(villi) ภายในวิลไลมีเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองช่วยดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์
    การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เป็นการย่อยขั้นสุดท้าย ซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์จากลำไส้เล็กเองและจากตับอ่อน ในการย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีน้ำดี ซึ่งสร้างโดยตับ และสะสมไว้ในถุงน้ำดี อาหารที่ย่อยแล้วซึมเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารที่เหลือจากการถูกดูดซึมจะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อถ่ายออกจากร่างกายเป็นอุจจาระต่อไป
   ในลำไส้เล็กจะมีเอนไซม์และสารต่างๆที่จำเป็นต่อการย่อยสารอาหารหลายประเภท โดยเอนไซม์และสารเหล่านี้ถูกสร้างที่อวัยวะต่างๆ ดังนี้
   - ลำไส้เล็ก สร้างเอนไซม์ ชื่อ มอลเตส  แลกเตส และ ซูเครส สำหรับย่อยสารอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาล
  - ตับอ่อน สร้างเอนไซม์ ชื่อ ทริปซิน สำหรับย่อยสารอาหาร โปรตีน และ ไลเปส สำหรับย่อยสารอาหารไขมัน
  - ตับ มีการสร้างน้ำดีแล้วส่งไปเก็บไว้ในถงน้ำดี โดยถุงน้ำดีจะมีท่อติดต่อกับลำไส้เล็ก เมื่ออาหารถูกส่งผ่านมายังลำไส้เล็กจะมีการกระตุ้นให้ถุงน้ำดีหลั่งน้ำดีออกมา สำหรับน้ำดีทำหน้าที่กระจายสารอาหารไขมันให้แตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆก่อน เพื่อให้สะดวกต่อการย่อยของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อนอีกทีหนึ่ง
         เอนไซม์และสารต่างๆที่ใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็กทำหน้าที่ได้ดีในภาวะเป็นเบส สารอาหารต่างๆถูกย่อยในลำไส้เล็กจะมีขนาดอนุภาคเล็กที่สุดจนสามารถแพร่ผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกายได้




การย่อยอาหารที่ลำไส้ใหญ่ ( large intestine )
         ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็ก ตรงรอยต่อจะมี ไส้ติ่ง(Vermiform appendix)ติดอยู่ ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำและเกลือแร่กลับคืนสู่กระแสเลือดโดยผนังของลำไส้ใหญ่ ส่วนอาหารที่ย่อยไม่ได้จะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ตรง ( rectum ) ซึ่งอยู่เหนือทวารหนัก และค้างอยู่ที่ลำไส้ตรงในรูปอุจจาระเพื่อรอขับถ่ายออกนอกร่างกาย
        อาหารที่ย่อยไม่ได้เป็นพวกเส้นใยอาหาร ( fiber ) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะช่วยทำให้กากอาหารเป็นก้อนเคลื่อนที่ไปตามความยาวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวได้มาก จึงช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระได้ดี

      เส้นใยอาหาร เป็นส่วนของกากอาหารที่ได้จากพืช ประโยชน์ของเส้นใยอาหาร ได้แก่
-   ช่วยลดน้ำหนัก เพราะเส้นใยอาหารจะจับกับไขมันจากอาหาร
-   ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร เนื่องจากเส้นใยอาหารอุ้มน้ำ จึงช่วยให้การขับถ่ายสะดวก
-   ช่วยลดระดับไขมันในเลือด เป็นการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
-    ป้องกันการดูดซึมสารก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เพราะเส้นใยอาหารจะไม่ค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป




การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
    1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน และรับประทานอาหารแต่พอควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    2. รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัยและปรุงสุกใหม่ ๆ
    3. ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา
    4. รับประทานอาหารประเภทไขมันให้พอเหมาะ เพื่อป้องกันการสะสมไขมันมากเกินไป
    5. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยระบบการขับถ่ายและลดไขมันในเส้นเลือด
    6. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป เช่น หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหารและอาจก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต โรคกระเพาะ
    7. ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารประเภททอด ย่าง เผา หรืออาหารที่ไหม้เกรียม
    8. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม เพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็ง ฟันผุ โรคเบาหวาน เป็นต้น
    9. ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ




ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/sec02p06.html












10 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีๆ++

    ตอบลบ
  2. ได้รู้จักกระบวนการย่อยเพิ่มเลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. เข้าใจง่ายมากเรยยยยย

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาน่าอ่าน เข้าใจง่ายดีจ้า

    ตอบลบ
  5. เนื้อหาเยอะดีค่ะ พื้นหลังก็สวย

    ตอบลบ
  6. เนื้อหาน่าสนใจดีมากเลยน่ะค่ะ สวยค่ะ

    ตอบลบ