วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหาร


ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ
   ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
   การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยมี 2 ลักษณะคือ
   1. การย่อยเชิงกล เป็นการย่อยอาหารโดยไม่ใช้เอ็นไซม์มาช่วย เป็นการบดเคี้ยวให้อาหารมีขนาดเล็กลง ได้แก่การบดเคี้ยวอาหารในปาก
   2. การย่อยทางเคมี เป็นการย่อยที่ต้องใช้เอ็นไซม์*(หรือน้ำย่อย)มาช่วย ทำให้โมเลกุลของอาหารมีขนาดเล็กลง เช่นการเปลี่ยนโมเลกุลของแป้งเป็นน้ำตาล
   การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก ลิ้น ฟัน ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
   ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่


การย่อยอาหารที่ปาก ( mouth)
ปาก เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในปากจะมีส่วนประกอบดังนี้
   anigreen02_rotate_next.gifฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง
  anigreen02_rotate_next.gif ต่อมน้ำลาย จะขับน้ำลายซึ่งมีน้ำย่อย ไทอะลิน(Ptyalin) ออกมาคลุกเคล้ากับอาหาร และช่วยในการย่อยอาหารจำพวกแป้งให้เป็นน้ำตาล
  anigreen02_rotate_next.gifลิ้นจะช่วยกวาด,คลุกเคล้าอาหาร และส่งอาหารที่เคี้ยวลงสู่หลอดอาหาร
หลอดอาหาร ท่อลำเลียงอาหารอยู่ด้านหลังของหลอดลมและทะลุกระบังลมไปต่อกับปลายบนของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่เคี้ยวแล้วลงสู่กระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดของผนังกล้ามเนื้อ
      การย่อยอาหารในปากจะเริ่มเมื่ออาหารเข้าสู่ปาก โดยฟันจะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้อาหารมีขนาดเล็กลง เพื่อเพิ่มเนื้อที่ของอาหารให้มีดอกาสสัมผัสกับเอนไซม์ชนิดที่อยู่ในน้ำลายได้มากขึ้น ทำให้การย่อยอาหารเป็นไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
      น้ำลายที่ถูกขับออกจากต่อมน้ำลาย ( เอนไซม์ในน้ำลายจะย่อยอาหารจำพวกแป้งหรือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำำตาลเท่านั้น ) ในขณะที่เคี้ยวอาหารจะช่วยคลุกเคล้ากับอาหารทำให้มีความลื่นต่อการเคี้ยวได้ง่าย และยังช่วยในการย่อยอาหารได้อีกด้วย โดยในน้ำลายจะมีเอนไซม์ที่ชื่ออะไมเลส ซึ่งสามารถย่อยแป้งที่มีอนุภาคใหญ่ให้กลายเป็นน้ำตาลที่มีอนุภาคเล็กอีก ด้วยสาเหตุนี้ขณะเราเคี้ยวและอมอาหารสุกที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เช่น ข้าว ขนมปังจืด ไว้สัก 2 - 3 นาที จะรู้สึกว่ามีรสหวานเกิดขึ้น
*เอ็นไซม์(enzyme) เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ซึ่งสิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น เพื่อเป็นตัวเร่ง (catalyst)ในปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น 




การย่อยอาหารที่กระเพาะอาหาร ( stomach )
     การะเพาะอาหาร ( stomach ) มีลักษณะเป็นถุงที่มีชั้นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ส่วนชั้นในสุดเป็นชั้นของเยื่อบุกระเพาะอาหารที่มีต่อมมากมายทำหน้าที่สร้างของเหลว ( gastric juice ) ออกมา 3 ชนิด คือ เอนไซม์เปปซิน ( pepsin ) กรดไฮโดรคลอริกและน้ำ
    อาหารเมื่อย่อยในปากแล้วจะถูกส่งไปยังกระเพาะอาหาร โดยผ่านไปตามหลอดอาหาร ปกติกระเพาะอาหารขณะที่ไม่มีอาหารอยู่จะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อมีอาหารบรรจุ กระเพาะอาหารก็จะสามารถขยายเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 10 - 40 เท่า
    ผนังชั้นในสุดของกระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์ชื่อว่าเปปซิน ( pepsin ) และ กรดไฮโดรคลอริก ออกมาในปริมาณเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารเอนไซม์และกรดไฮโดรคลอริกก็จะถูกผลิตและขับออกมาในปริมาณมากขึ้น เพื่อใช้ในการย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกชนิดหนึ่ง ชื่อว่า เรนนิน สำหรับย่อยโปรตีนในน้ำนม
    เอนไซม์เปปซินในกระเพาะอาหารมีหน้าที่ย่อยสารอาหารประเภทโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะแพร่เข้าสู่เซลล์ได้ ดังนั้นจะต้องส่งไปย่อยต่อที่ลำไส้เล็ก
     กรดไฮโดรคลอริกที่กระเพาะอาหารสร้างขึ้นแลปล่อยออกมาในตอนแรกจะมีความเข้มข้นสูง สามารถทำอันตรายแก่เนื้อเยื่อต่างๆในร่างกายได้ แต่จะไม่เป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหารถ้ากรดนี้รวมตัวกับอาหารในกระเพาะทำให้กรดเจือจางลง ประกอบกับเนื้อเยื่อบุกระเพาะอาหารด้านในมีการสรางน้ำเมือกเคลือบไว้ กรดไฮโดรคลอริกจึงไม่ทำอันตรายแก่ผนังกระเพาะอาหารได้ง่ายนัก แต่ถ้ากระเพาะอาหารปล่อยน้ำย่อยออกมามากๆ ในขณะที่ไม่มีอาหารอยู่จะมีผลทำให้ผนังของกระเพาะอาหารถูกทำลายได้ และเมื่อเกิดบ่อยๆครั้งจะเป็นผลทำให้เกิดแผลและีเลือดไหลซึมออกมาจากเยื่อบุในกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากอุจจาระมีสีดำเนื่องจากมีเลือดไหลปนออกมาด้วย



การย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ( small intestine )
      การย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่นี่ ลำไส้เล็กมีรูปร่างเป็นท่อยาวประมาณ 15 ฟุต มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ผนังด้านในของลำไส้เล็กจะมีส่วนที่ยื่นออกมาจำนวนมากเรียกว่า วิลไล(villi) ภายในวิลไลมีเส้นเลือดฝอยและน้ำเหลืองช่วยดูดซึมอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์
    การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก เป็นการย่อยขั้นสุดท้าย ซึ่งต้องอาศัยเอ็นไซม์จากลำไส้เล็กเองและจากตับอ่อน ในการย่อยอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้ยังมีน้ำดี ซึ่งสร้างโดยตับ และสะสมไว้ในถุงน้ำดี อาหารที่ย่อยแล้วซึมเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาหารที่เหลือจากการถูกดูดซึมจะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อถ่ายออกจากร่างกายเป็นอุจจาระต่อไป
   ในลำไส้เล็กจะมีเอนไซม์และสารต่างๆที่จำเป็นต่อการย่อยสารอาหารหลายประเภท โดยเอนไซม์และสารเหล่านี้ถูกสร้างที่อวัยวะต่างๆ ดังนี้
   - ลำไส้เล็ก สร้างเอนไซม์ ชื่อ มอลเตส  แลกเตส และ ซูเครส สำหรับย่อยสารอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาล
  - ตับอ่อน สร้างเอนไซม์ ชื่อ ทริปซิน สำหรับย่อยสารอาหาร โปรตีน และ ไลเปส สำหรับย่อยสารอาหารไขมัน
  - ตับ มีการสร้างน้ำดีแล้วส่งไปเก็บไว้ในถงน้ำดี โดยถุงน้ำดีจะมีท่อติดต่อกับลำไส้เล็ก เมื่ออาหารถูกส่งผ่านมายังลำไส้เล็กจะมีการกระตุ้นให้ถุงน้ำดีหลั่งน้ำดีออกมา สำหรับน้ำดีทำหน้าที่กระจายสารอาหารไขมันให้แตกตัวเป็นเม็ดเล็กๆก่อน เพื่อให้สะดวกต่อการย่อยของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อนอีกทีหนึ่ง
         เอนไซม์และสารต่างๆที่ใช้ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็กทำหน้าที่ได้ดีในภาวะเป็นเบส สารอาหารต่างๆถูกย่อยในลำไส้เล็กจะมีขนาดอนุภาคเล็กที่สุดจนสามารถแพร่ผ่านผนังของลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อนำไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกายได้




การย่อยอาหารที่ลำไส้ใหญ่ ( large intestine )
         ลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนสุดท้ายของระบบย่อยอาหาร อยู่ติดกับลำไส้เล็ก ตรงรอยต่อจะมี ไส้ติ่ง(Vermiform appendix)ติดอยู่ ในลำไส้ใหญ่จะไม่มีการย่อยอาหาร แต่จะมีการดูดซึมน้ำและเกลือแร่กลับคืนสู่กระแสเลือดโดยผนังของลำไส้ใหญ่ ส่วนอาหารที่ย่อยไม่ได้จะเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้ตรง ( rectum ) ซึ่งอยู่เหนือทวารหนัก และค้างอยู่ที่ลำไส้ตรงในรูปอุจจาระเพื่อรอขับถ่ายออกนอกร่างกาย
        อาหารที่ย่อยไม่ได้เป็นพวกเส้นใยอาหาร ( fiber ) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะช่วยทำให้กากอาหารเป็นก้อนเคลื่อนที่ไปตามความยาวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวได้มาก จึงช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระได้ดี

      เส้นใยอาหาร เป็นส่วนของกากอาหารที่ได้จากพืช ประโยชน์ของเส้นใยอาหาร ได้แก่
-   ช่วยลดน้ำหนัก เพราะเส้นใยอาหารจะจับกับไขมันจากอาหาร
-   ป้องกันโรคริดสีดวงทวาร เนื่องจากเส้นใยอาหารอุ้มน้ำ จึงช่วยให้การขับถ่ายสะดวก
-   ช่วยลดระดับไขมันในเลือด เป็นการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
-    ป้องกันการดูดซึมสารก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ เพราะเส้นใยอาหารจะไม่ค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป




การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
    1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน และรับประทานอาหารแต่พอควรไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    2. รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัยและปรุงสุกใหม่ ๆ
    3. ไม่รับประทานอาหารพร่ำเพรื่อ จุกจิก และทานให้ตรงเวลา
    4. รับประทานอาหารประเภทไขมันให้พอเหมาะ เพื่อป้องกันการสะสมไขมันมากเกินไป
    5. รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยระบบการขับถ่ายและลดไขมันในเส้นเลือด
    6. ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดจนเกินไป เช่น หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหารและอาจก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต โรคกระเพาะ
    7. ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารประเภททอด ย่าง เผา หรืออาหารที่ไหม้เกรียม
    8. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม เพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็ง ฟันผุ โรคเบาหวาน เป็นต้น
    9. ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาและสม่ำเสมอ




ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/sec02p06.html












ระบบหายใจ


ระบบหายใจ

     การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องใช้แก๊สออกซิเจน ซึ่งคนเราได้รับแก๊สออกซิเจนจากการหายใจเข้า ถ้าร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนไปเพียง 2 - 3 นาที ก็จะทำให้ถึงตายได้
     การหายใจ ( Respiration ) 
    การหายใจ   หมายถึง  การใช้แก๊สออกซิเจนในการเผาผลาญอาหารเพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้ในการดำรงชีวิต
    การหายใจ  แบ่งออกเป็น 2  แบบ  คือ 
    1.  การหายใจแบบใช้ออกซิเจน ( Aerobic respiration )
    2.  การหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน ( Anaerobic respiration )
การหายใจแบบใช้ออกซิเจนจะให้พลังงานมากกว่าแบบที่ไม่ใช้แก๊สออกซิเจนประมาณ 19 เท่า

การหายใจของคนและสัตว์ชั้นสูง
คนเราต้องการพลังงานจึงมีการหายใจแบบใช้ออกซิเจน ผลิตผลที่ได้จากการหายใจแบบนี้ คือ น้ำ  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และพลังงาน
    การหายใจของคนและสัตส์ชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1   ขั้นตอนการสูดอากาศเข้าปอด
ขั้นที่ 2   ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมปอด
ขั้นที่ 3   ขั้นตอนการทำปฏิกิริยาของแก๊สออกซิเจนกับอาหารภายในเซลล์


อวัยวะที่ช่วยในการหายใจ
     อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจของคนเริ่มต้นที่ปาก และ จมูก ไปสู่หลอดลม ซึ่งเป็นท่อกลวงมีกระดูกอ่อนเป็นวงแหวนแทรกอยู่ช่วยให้หลอดลมไม่ยุบหรือแฟบซึ่งเป็นอันตราย ปลายของหลอดลมแตกเป็นสองแขนง เรียกว่า หลอดลมใหญ่เข้าสู่ปอด เมื่อเข้าไปในปอดจะแตกแขนงเล็กๆมากมาย เรียกว่า หลอดลมฝอย ปลายหลอดลมฝอยจะมีถุงเล็กๆ เรียกว่าถุงลม ซึ่งจะมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง
    ปอดของคนเราไม่มีกล้ามเนื้อจึงไม่สามารถหดตัวและคลายตัวได้เอง ดังนั้นในการนำเอาอากาศภายนอกเข้าสู่ปอดและขับแก๊สต่างๆ ออกจากปอดต้องอาศัยการทำงานประสานกันของอวัยวะต่างๆเช่น กล้ามเนื้อของกระดูกซี่โครง กล้ามเนื้อกะบังลม


การหายใจของมนุษย์  
     การหายใจ เป็นการรับเอาอากาศจากภยนอกผ่านปากหรือจมูกลงสู่ปอด ป็นการทำงานร่วมกันของกระดูกซี่โครงและกะบังลม ดังนี้
       การหายใจเข้า  จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงหดตัวซึ่งจะทำให้ กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น ในขณะเดียวกันกะบังลมก็จะหดตัวและเลื่อนต่ำลง จึงทำให้ปริมาตรของช่องอกมีมากขึ้น ( ช่องอกขยายตัว ) ความดันอากาศลดต่ำลง อากาศจากภายนอกจะผ่านเข้าสู่ปอด
       การหายใจออก  จะเกิดหลังจากการหายใจเข้า เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกซี่โครงมีการคลายตัว จึงทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง และกะบังลมเลื่อนสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกน้อยลง ( ช่องอกหดตัว ) ความดันอากาศในช่องอกสูงขึ้น จึงสามารถดันให้อากาศจากภายในปอดออกจากปอดสู่ภายนอกได้



การแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลม
     อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ซึ่งปอดต่ละข้างจะมีถุงมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ะถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลม
    เลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก



การแลกเปลี่ยนแก๊สที่เซลล์
     เลือดจะเป็นตัวพาแก๊สออกซิเจนและสารอาหารไปสู่เซลล์ทั่วร่างกายเมื่อสารอาหารและแก๊สออกซิเจนเข้าสู่เซลล์จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารอาหารและแก๊สออกซิเจน อาหารจะปล่อยพลังงานออกมา กระบวนการนี้เรียกว่า กระบวนการหายใจ ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ นอกจากพลังงานแล้วยังได้น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียแพร่เข้าสู่เส้นเลือด เลือดจะพาของเสียเหล่านี้ไปสู่ถุงลมในปอด เพื่อขับถ่ายออกมาทางลมหายใจออกต่อไป




ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/sec03p01.html


ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน


ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน

     ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ   โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ   ( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง **
** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4 ห้อง **

 ในร่างกายของมนุษย์ ระบบการหมุนเวียนของเลือดประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ดังนั้นระบบหมุนเวียนเลือดของคนเราจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3 ส่วน คือ เลือด  เส้นเลือด  และ หัวใจ
1.  เลือด ( blood )  ในร่างกายของคนเรามีเลือดอยู่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เลือดประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำเลือด ( plasma ) กับส่วนที่เป็นของแข็ง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด
    1.1  ส่วนที่เป็นของหลว  คือ น้ำเลือดหรือพลาสมา ประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ ซึ่งได้แก่ สารอาหารที่ถูกย่อยแล้ว รวมทั้งวิตามิน  เกลือแร่ ฮอร์โมนและสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้ สารเหล่านี้จึงอยู่ในรูปสารละลาย มีประมาณ 50 % ของเลือดทั้งหมด น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กไปสู่ส่วนต่างๆของเซลล์ทั่วร่างกายและลำเลียงของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์ เช่น ยูเรีย มาสู่ไต ซึ่งไตจะสกัดเอาสารยูเรียออกจากเลือดแล้วขับถ่ายออกมาในรูปของปัสสาวะ
    1.2  ส่วนที่เป็นของแข็ง  มีอยู่ประมาณ 50% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย
       -  เซลล์เม็ดเลือดแดง   ในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะอยู่ในไขกระดูกและมีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วนิวเคลียสจะหายไป เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งแก๊สออกซิเจน จากปอดไปสู่เซลล์ทั่ร่างกายและขนส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายอาหารจากเซลล์มาสู่ถุงลมในปอดเพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยเฉลี่ยเม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 90- 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
       -  เซลล์เม็ดเลือดขาว  มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ภายในมีนิวเคลียส ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
       -  เกล็ดเลือด  เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเล็กๆปนอยู่ในน้ำเลือด ไม่มีนิวเคลียส มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เวลาเกิดบาดแผลเล็กๆเกล็ดเลือดจะทำให้เส้นใย ( fibrin ) ปกคลุมบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหล เป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 4 วัน



2. เส้นเลือด ( blood vessels )  เส้นเลือดในร่างกายคนแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ เรียกว่า อาร์เทอรี ( Artery )
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ  เรียกว่า เส้นเวน ( Vein )
  - เส้นเลือดฝอย ( Capillaries )

    
เส้นเลือดอาร์เทอรี  เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ มีขนาดต่างๆกัน ขนาดใหญ่คือ เอออร์ตา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ไม่มีลิ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ มีผนังหนา สามารถรับแรงดันเลือด ซึงเป็นแรงดันค่อนข้างสูง อันเป็นผลเนื่องมาจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่าซ้าย ความดันของเลือดจะสูงมากในเส้นเลือดอาร์เทอรีใกล้หัวใจ คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า เอออร์ตา และค่อยๆลดลงตามลำดับเมื่ออยู่ห่างจากหัวใจไปเรื่อยๆจนถึงอวัยะต่างๆดังนั้นการวัดความดันเลือด เส้นเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือดคือเส้นอาร์เทอรีที่ต้นแขน  ผู้ใหญ่อายุ 20 - 30 ปี มีความดันเลือดปกติประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขข้างหน้า ( 120 )หมายถึง ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่าความดันซิสโทลิก ( Systolie pressure ) ตัวเลขข้างหลัง( 80 ) หมายถึงความดันดลหิตของหัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก ( Diastolie pressure )
ที่เรียกว่า การจับชีพจร ซึ่งชีพจร ( pluse ) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจ จงหวะการหยืดหยุ่นของเส้นเลือดอาร์เทอรีเป็นไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ สำหรับการเต้นของหัวใจปกติประมาณ 72 ครั้งต่อนาที แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะต่างๆ เช่น เพศ วัย อิริยาบท โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น



3. หัวใจ ( heart ) หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดเข้าทางหัวใจห้องบนซ้ายผ่านต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อส่งออกไปยังอวัยวะต่างๆขอองร่างกายและจะรับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจห้องบนขวา และผ่านไปยังหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหมุนเวียนตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ
    หรือกล่าวได้ว่าเลือดดำ ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนต่ำ )จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไหลเข้าหัวใจทางหัวใจห้องบนขวาโดยเลือดจากส่วนบนของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดซุปิเรียเวนาคาวาและเลือดจากส่วนล่างของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางเส้นเลือดอินพีเรียเวนาคาวา จากนั้นหัวใจห้องบนขวาจะหดตัวให้เลือดผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วหัวใจห้องล่างขวาจะบีบตัวให้เลือดไปเข้าไปในเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีจากหัวใจไปยังปอด เลือดดำจะผ่านเข้าไปในเส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมปอด แล้วจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับถุงลมปอดแล้วรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทนเป็นผลให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง ) แล้วไหลออกจากปอดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายทางเส้นเลือดพัลโมนารีเวนจากนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจะบีบเลือดลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป




ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/lamphu_s/bodysystem/sec05p05.htm






    ระบบประสาท

 ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ซึ่งอวัยวะรับสัมผัสแต่ละชนิดจะมีหน่วยรับความรู้สึก ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
             1. ส่วนประกอบภายนอกตา ได้แก่
                   1.1 คิ้ว ทำหน้าที่ป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตา
                   1.2 ขนตา ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าตา
                   1.3 หนังตา ทำหน้าที่ช่วยปิดเปิดเพื่อรับแสงและควบคุมปริมาณของแสงสู่นัยน์ตา ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตา
และหลับตา เพื่อให้นัยน์ตาได้พักผ่อน นอกจากนี้การกระพริบตายังจะช่วยรักษาให้นัยน์ตาชุ่มชื้นอยู่เสมอ
โดยปกติคนเรากระพริบตา 25 ครั้ง / นาที
                   1.4 ต่อมน้ำตา เป็นต่อมเล็กๆ อยู่ใต้หางคิ้ว ต่อมนี้จะขับน้ำตา มาหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
น้ำตาส่วนใหญ่จะระเหยไปในอากาศ ส่วนที่เหลือระบายออกที่รูระบายน้ำตา ซึ่งอยู่ที่หัวตา รูนี้เชื่อมกับท่อน้ำตาที่ต่อไปถึงในจมูก
ถ้าต่อมน้ำตาขับน้ำตาออกมามาก เช่นเมื่อร้องไห้ น้ำตาจะถูกระบายออกที่รูระบายน้ำตา และเข้าไป ในจมูก ทำให้คัดจมูกได้
ลักษณะเป็นวุ้นใสคล้ายไข่ดาวบรรจุอยู่เต็ม อวัยวะที่สำคัญของส่วนประกอบภายในลูกตา ได้แก่ ตาขาว ตาดำ แก้วตา และจอตา(Retina)หรือฉากตา
                   2.1 ตาขาว (Sclera) คือส่วนสีขาวของนัยน์ตา ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเหนียวไม่ยืดหยุ่นแต่แข็งแรง ทำหน้าที่หุ้มลูกตาไว้ ด้านหลังลูกตา มีกล้ามเนื้อยืดอยู่ 6 มัด ทำให้กลอกตาไปทางซ้ายขวา หรือขึ้น-ลงได้ ผนังด้านหน้าของลูกตาเป็นเนื้อเยื่อใสเรียกว่า กระจกตา (Cornea) ซึ่งหากมีจุดหรือรอยถลอกเพียงเล็กน้อยจะรบกวน
การมองเห็น และทำให้เคืองตาได้มากถ้าเป็นฝ้าขาวทำให้ตาบอดได้
                   2.2 ตาดำ คือส่วนที่เป็นม่านตา (Iris) มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อยืดหดได้และมีสีตามชาติพันธุ์
คนไทยส่วนใหญ่มีตาสีน้ำตาลเข้ม ดูเผินๆ คล้ายสีดำ จึงเรียกว่าตาดำ ตรงกลางม่านตามีรูกลม เรียกว่า รูม่านตา (Pupil) 
ซึ่งเป็นทางให้แสงผ่านเข้าทำให้เข้ารูม่านตาได้เหมาะ คือถ้าเราอยู่ในที่สว่างมาก ม่านตาจะหดแคบ รูม่านตาก็จะเล็กลง 
ทำให้แสงผ่านเข้าลูกตาได้น้อยลง เราจึงต้องทำตาหรี่ หรือหรี่ตาลง ถ้าอยู่ในที่สว่างน้อย ม่านตาจะเปิดกว้าง 
ทำให้แสงผ่านเข้าตาได้มากและทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เราจึงต้องเบิกตากว้าง
                   2.3 แก้วตา (Lens) อยู่หลังรูม่านตา มีลักษณะเป็นแผ่นใสๆ เหมือนแก้ว คล้ายเลนส์นูนธรรมดา
มีเอ็นยึดแก้วตา (Ciliary muscle) ยึดระหว่าง แก้วตาและกล้ามเนื้อ และกล้ามนี้ยึดอยู่โดยรอบที่ขอบของแก้วตา 
กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่ปรับแก้วตาให้โค้งออกมาเมื่อมาเมื่อมองภาพในระยะใกล้ และปรับแก้วตาให้แบนเมื่อมองในระยะไกล
ทำให้มองเห็นภาพ ได้ชัดเจนทุกระยะ
                   2.4 จอตา หรือฉากตา (Retina) อยู่ด้านหลังแก้วตา มีลักษณะเป็นผนังที่ประกอบด้วยใยประสาทซึ่งไวต่อแสง
 เซลล์ของประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่เป็น จอรับภาพตามที่เป็นแล้วส่งความรู้สึกผ่านเส้นประสาทตา 
ซึ่งทอดทะลุออกทางหลังกระบอกตาโยงไปสู่สมอง เพื่อแปลความหมายให้เกิดความรู้สึกเห็นภาพ ทำให้เรารู้ว่าเรามองภาพอะไรอยู่
     การมองเห็นภาพ
        คนเรามองเห็นภาพต่างๆ ได้เพราะแสงไปกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่นัยน์ตาเรา ผ่านกระจกตา รูม่านตา แก้วตา
ไปตกที่จอตา เซลล์รับภาพที่จอตาจะรับภาพ ในลักษณะหัวกลับแล้วส่งไปตามเส้นประสาทสู่สมองส่วนท้ายทอย 
สมองทำหน้าที่แปลภาพหัวกลับเป็นหัวตั้งตามเดิมของสิ่งที่เห็น
     ความผิดปกติของสายตา
        เกิดขึ้นเพราะส่วนประกอบของนัยน์ตาทีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดได้ ตาพร่าได้ ที่พบบ่อยได้แก่
                1. สายตาสั้น คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ สิ่งที่อยู่ไกลจะเห็นไม่ชัด
                        สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความยาวมากกว่าปกติ ทำให้ระยะระหว่างแก้วตา และจอตาอยู่ห่างกันเกินไป 
ทำให้ภาพของสิ่งที่มองตกก่อนจะถึงจอตา
                        การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์เว้า เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
                2. สายตายาว คือ การที่มองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ไกลๆ สิ่งที่อยู่ใกล้จะเห็นไม่ชัด
                        สาเหตุ เกิดจากลูกตามีความสั้นกว่าปกติ หรือผิวของแก้วตาโค้งนูนน้อยเกินไป ทำให้ภาพของสิ่งที่มอง
ตกเลยจอตาไป ทำให้มองเห็นภาพใกล้ๆไม่ชัดเจน
                        การแก้ไข ใส่แว่นตาที่ทำด้วยเลนส์นูน เพื่อช่วยหักเหแสงให้ลงที่จอตาพอดี
                3. สายตาเอียง คือ การที่มองเห็นบิดเบี้ยวจากรูปทรงที่แท้จริง บางคนมองเห็นภาพในแนวดิ่งชัด 
แต่มองภาพในแนวระดับมองไม่ชัด เช่น มองดูนาฬิกา เห็นเลข 3,9 ชัด แต่เห็นเลข 6,12 ไม่ชัด
                        สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความโค้งนูนของแก้วตาไม่สม่ำเสมอ จอตาจึงรับภาพได้ไม่ชัดเจนเท่าทุกแนว
                        การแก้ไข ใส่แว่นตาเลนส์พิเศษ รูปกาบกล้วย หรือรูปทรงกระบอก แก้ไขภาพเฉพาะส่วนที่ตกนอกจอตา 
ให้ตกลงบนจอตาให้หมด
        4. ตาส่อน ตาเอก ตาเข ตาเหล่
ตาส่อนและตาเอก หมายถึง คนที่มีตาดำสองข้างอยู่ในตำแหน่งไม่ตรงกัน ถ้าเป็นมากขึ้นเรียกว่า ตาเข และถ้าตาเขมากๆ
เรียกว่า ตาเหล่ ซึ่งจะมองเห็นภาพเดียวกันเป็น 2 ภาพ เพราะภาพจาก ตาสองข้างทับกัน ไม่สนิท
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากกล้ามเนื้อบางมัดที่ใช้กลอกตา อ่อนกำลัง หรือเสียกำลังไป กล้ามเนื้อมัดตรงข้าม ยังทำงานปกติ
จะดึงลูกตาให้เอียงไป ทำให้สมองไม่สามารถบังคับตาดำให้มองไป ยังสิ่งที่ต้องการ เหมือนลูกตาข้างที่ดีได้
การแก้ไข ควรปรึกษา จักษุแพทย์ในระยะที่เริ่มเป็น แพทย์อาจรักษาโดยการใช้แว่นตา หรือฝึกกล้ามเนื้อที่อ่อนให้ทำงานดีขึ้น 
หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัด
     การถนอมดวงตา
        ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
        1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
        2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือ
ประมาณ 1 ฟุต
        3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่า
ของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ 6 ฟุต
       4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
       5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
       6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
       7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
       8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
       9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
       10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์

     การถนอมดวงตา
        ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติดังนี้
        1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
        2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือ
ประมาณ 1 ฟุต
        3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ประมาณ 5 เท่า
ของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14" (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14 x 5 = 70 " = 70/12 ฟุต = 5.83. = ประมาณ 6 ฟุต
       4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
       5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
       6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
       7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
       8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
       9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
       10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่นมองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์
ลิ้นคนเราสามารถรับรสได้ รส คือ หวาน เค็ม เปรี้ยว ขม โดยแต่ละตำแหน่งจะรับรสแตกต่างกันออกไปดังภาพ
ที่มา : http://diary.yenta4.com/diary_folder/209598/209598_uploaded/15.jpg
           ส่วนประกอบของหู
               หูของคนเราแต่ละข้างแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
               1.หูชั้นนอก ประกอบไปด้วย
                     1.1 ใบหู เป็นกระดูกอ่อนที่หุ้มด้วยผิวหนังบางๆ ทำหน้าที่ดักและรับเสียงเข้าสู่รูหู
                     1.2 รูหู เป็นท่อคดเคี้ยวเล็กน้อย ลึกประมาณ 2.5 ซม. ผนังของรูหูบุด้วยเยื่อบาง และใต้เยื่ออ่อนนี้เต็มไปด้วยต่อมน้ำมัน
ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู
ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย

ทำหน้าที่ขับไขมันเหนียวและเหลว มาหล่อเลี้ยงรูหู ไขมันเหล่านี้เมื่อรวมกับสิ่งสกปรกต่างๆก็จะกลายเป็น ขี้หู
ซึ่งจะช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทางรูหูไม่ให้เข้าถึงเยื่อแก้วหูได้ง่าย
                     1.3 เยื่อแก้วหู เป็นเยื่อบางๆ อยู่ลึกเข้าไปในส่วนของรูหู กั้นอยู่ระหว่างหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง
 ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู

 ทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงที่เดินทางเข้ามาทางรูหู
   
            2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน
อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลาง
จะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน
 (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศ
ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร

               2.หูชั้นกลาง อยู่ถัดจากเยื่อแก้วหู มีลักษณะเป็นโพรงอากาศบรรจุกระดูกเล็กๆ ชิ้นติดต่อกัน คือกระดูกค้อน
อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลาง
จะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน

อยู่ติดกับเยื่อแก้วหู กระดูกทั่ง อยู่ตรงกลาง และกระดูกโกลน อยู่ติดกับหูชั้นใน ส่วนล่างของโพรงอากาศตอนปลายของหูชั้นกลาง
จะมีท่อ ยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องอากาศแคบๆ และยาวต่อไปถึงคอ ทำหน้าที่ปรับความกดอากาศ
ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร

ข้างในและข้างนอกหูให้มีความสมดุลกัน ทำให้เราไม่ปวดหูเวลาอากาศเข้าไปกระทบ แก้วหูขณะที่มีการหายใจ หรือกลืนอาหาร
                     3.1 ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ที่ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่หลายชั้นคล้ายหอยโข่ง
ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป

ภายในมีท่อของเหลวบรรจุอยู่ ตามผนังด้านในของท่อมีอวัยวะรับเสียงอยู่ทั่วไป
                     3.2 ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว มีลักษณะเป็นรูปท่อโค้งครึ่งวงกลมเล็กๆ วง วางเรียงติดต่อกัน
ตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง 

ตั้งฉากกับผนังภายใน ปลายของครึ่งวงกลมทั้ง นั้น อยู่ติดกัน ท่อครึ่งวงกลมทั้ง นี้บุด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่มีประสาทรับความรู้สึก
เกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศีรษะ
หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง 

เกี่ยวกับการทรงตัวกระจายอยู่ ส่วนที่เป็น ส่วนที่เป็นช่องว่างภายในท่อครึ่งวงกลมนี้ บรรจุด้วยของเหลว เมื่อเราเคลื่อนไหว ศีรษะ
หูย่อมเอนเอียงไปด้วย ของเหลวที่บรรจุภายในท่อทั้ง นี้ ก็จะเคลื่อนที่ตามทิศทางการเอียงของศีรษะ ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาท
รับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด
ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
ของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น

รับความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัวแล้วส่งความรู้สึกไปยังสมองจึงทำให้เรา ทราบว่าร่างกายของเราทรงตัวอยู่ในลักษณะใด
ของเหลวที่บรรจุในท่อครึ่งวงกลมนี้จะปรับไปตามความกดดันของอากาศ ถ้าความกดดันอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหัน
ของเหลวปรับตัวไม่ทันก็จะทำให้เรามีอาการวิงเวียน ศีรษะเมื่อขึ้นไปอยู่ที่สูงๆอย่างรวดเร็วเป็นต้น
 
ที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/waste/skin01.jpg
จากปลายเท้าถึงกระดูกสันหลัง เซลล์ประสาททำหน้าที่รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัสส่งไปสู่สมอง เรียกว่า
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) เมื่อสมองรับรู้แล้วจะสั่งงานลงมาทางประสาทอีกเส้นหนึ่ง เรียกว่า
ประสาทสั่งการ 

ประสาทสั่งการ (motor neuron) ไปยังอวัยวะสัมผัสนั้น ให้ทำงานตามที่ได้รับคำสั่งจากสมอง ซึ่งเซลล์ประสาทประกอบด้วย
ไม่เคยหยุดไม่ว่าหลับหรือตื่น ดังนั้นสมองจึงต้องใช้พลังงานมากและต้องการสารอาหารอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่สมองต้องการ คือ
 เลือด ออกซิเจน และน้ำตาลเพื่อไปหล่อเลี้ยง ฉะนั้นออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมองอย่างมาก
ที่มา: http://www.surin.js.ac.th/9%20%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97/index.htm
              การทำงานของระบบในร่างกายเพื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เรียกว่า ระบบประสาท ประกอบด้วย หน่วยรับความรู้สึกที่มีอยู่ตามอวัยวะรับสัมผัส เส้นประสาท สมองและไขสันหลัง โดยอวัยวะรับสัมผัสของมนุษย์มีอยู่ อย่าง คือ
                            ตา 
                      นัยน์ตา หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า ตา เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้ ตามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ


ส่วนประกอบของตา
ที่มา : http://www.visionsofjoy.org/images/eye%20anatomy1.jpg

  2. ส่วนประกอบภายในดวงตา คือ ส่วนที่เรียกว่าลูกตา มีรูปร่างเป็นทรงกลมรี ภายในมีของเหลว
                  ลิ้น
                ลิ้นเป็นอวัยวะรับสัมผัส(taste) ที่มีปุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลิ้น ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรส
ปุ่มประสาทสัมผัสรสของลิ้น



   จมูก
                จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสเกี่ยวกับกลิ่น ซึ่งมีหน่วยรับกลิ่นอยู่ในโพรงจมูก
                การที่เรารับรู้ว่าอาหารชนิดใดมีรสอร่อยนั้น ต้องได้รับทั้งรสและกลิ่นของอาหารด้วย


ประสาทสัมผัสกลิ่นในจมูก
ที่มา http://cwx.prenhall.com/bookbind/pubbooks/morris2/chapter3/medialib/summary/SMO116FA.GIF

      หู
               หูเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คนเราได้ยินเสียงต่างๆ และเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับการทรงตัวของร่างกายขณะร่างกายเคลื่อนไหว
 3.หูชั้นใน อยู่ถัดจากกระดูกโกลนเข้ามา หูชั้นนี้ประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ ส่วน คือ
              ผิวหนัง
                ผิวหนังเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่มีหน่วยรับสัมผัสแรงกดดัน ความร้อน และความเย็น ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนังลงไป



โครงสร้างผิวหนัง

  เส้นประสาท
                เส้นประสาท มีความยาวมาก เส้นที่ยาวที่สุดในร่างกายของคนเราจะมีความยาวประมาณ 1.3 เมตร คือ
                1)หน่วยรับความรู้สึก (dendrite) ทำหน้าที่รับความรู้สึก
                2)หน่วยส่งความรู้สึก (axon) ทำหน้าที่ส่งความรู้สึก
 เซลล์ประสาท

ที่มา :  http://scienceblogs.com/purepedantry/upload/2006/07/neuron.JPG

เส้นประสาทไขสันหลัง
ที่มา : http://ecurriculum.mv.ac.th/science/biology/M6/biology/nervou48.jpg



  สมอง
                สมองของคนเรามีน้ำหนักประมาณ 1.3 กิโลกรัม เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ สมองทำงานอยู่ตลอดเวลา
                การทำงานประสานกันของเซลล์สมอง เกิดเป็นศูนย์ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
                1.ความคิด ความจำและอารมณ์
                2.การรับฟังเสียง การมองเห็น และการเคลื่อนไหว
                3.การประสานงานของอวัยวะต่างๆ เช่น การนั่ง การนอน และการเดิน เป็นต้น
                4.การหายใจ การย่อยอาหาร อัตราการเต้นของหัวใจ


สมอง
 ที่มา : http://universe-review.ca/I10-80-prefrontal.jpg